FORRU
ห้องสมุด

การฟื้นฟูป่าด้วยการปลูกเมล็ดโดยตรงบนพื้นที่การเกษตรที่ถูกทิ้งร้างในภาคเหนือ ประเทศไทย

Language:
การฟื้นฟูป่าด้วยการปลูกเมล็ดโดยตรงบนพื้นที่การเกษตรที่ถูกทิ้งร้างในภาคเหนือ ประเทศไทย
Date:
2004
Author(s):
Woods, K. & S. Elliott
Publisher:
J. Trop. For. Sci., 16(2):248-259
Serial Number:
42
Suggested Citation:

Woods, K. & S. Elliott, 2004. Direct seeding for forest restoration on abandoned agricultural land in northern Thailand. J. Trop. For. Sci., 16(2):248-259

การฟื้นฟูป่าด้วยการปลูกเมล็ดโดยตรง มีข้อจำกัดที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการฟื้นฟูป่า คือ การล่าเมล็ดและเมล็ดแห้ง การศึกษาครั้งนี้ เป็นการทดสอบสมมติฐานที่ว่า เมล็ดที่ผ่านการฝน ก่อนที่จะหว่านลงพื้นที่ที่ปราศจากวัชพืช จะสามารถลดระยะการพักตัวของเมล็ด, ลดระยะเวลาการล่าเมล็ด และการฝังกลบเมล็ดจะช่วยป้องกันเมล็ดจากนักล่าได้ ดังนั้น จึงมีการทดสอบทั้งหมด 4 วิธีการ ได้แก่ การฝนเมล็ด, การฝังเมล็ด, การคลุมด้วยหญ้า, การฝนและฝังเมล็ดร่วมกัน โดยทดสอบกับเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น 4 ชนิดที่ถูกหว่านไว้อยู่แล้วในพื้นที่การเกษตรที่ถูกทิ้งร้าง บริเวณต้นน้ำส่วนต้นของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ภาคเหนือ ประเทศไทย พรรณไม้ชนิดที่นำมาศึกษา คือ  Sapindus rarak, Lithocarpus elegans, Spondias axillaris และ Erythrina subumbrans ซึ่งมีนักล่าเมล็ด คือ มด แทนที่จะเป็นสัตว์ฟันแทะ     

ผลลัพธ์ คือ วิธีการฝนเมล็ดโดยไม่มีการฝัง ไม่เพิ่มการงอกของเมล็ดภายในพื้นที่ เนื่องจากเมล็ดแห้ง และเมล็ดถูกล่าด้วยมด การฝังช่วยป้องกันเมล็ดจากนักล่าได้ ปิดกั้นแสงแดดโดยตรง และเพิ่มการกักเก็บความชื้น ซึ่งป้องกันการแห้งของเมล็ดได้ เมล็ดที่ได้รับประโยชน์จากการฝน แต่ถูกล่าและเกิดการแห้งได้ง่าย ควรถูกฝน และฝังความลึกประมาณสองเท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (3-5 เซนติเมตร) เทคนิคนี้ เป็นอีกทางเลือกสำหรับโครงการฟื้นฟูป่าในการเพาะเลี้ยงต้นกล้าที่มีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นเทือกเขา โดยต้องพิจารณาชนิดพรรณไม้ที่เหมาะสมด้วย