FORRU
ห้องสมุด

ผลของคอนเทียมสำหรับนกและพืชพรรณท้องถิ่นต่อการสะสมของเมล็ดที่ถูกกระจายโดยนกสู่พื้นที่ที่กำลังฟื้นตัว

Language:
The effect of artificial perches and local vegetation on bird-dispersed seed deposition into regenerating sites
Date:
2000
Author(s):
Scott, R., P. Pattanakaew, J. F. Maxwell, S. Elliott and G. Gale
Publisher:
International Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Editor(s):
Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
Serial Number:
35
ISBN:
ISBN 974-657-424-8
Suggested Citation:

Scott, R., P. Pattanakaew, J. F. Maxwell, S. Elliott & G. Gale, 2000. The effect of artificial perches and local vegetation on bird-dispersed seed deposition into regenerating sites. Pp 327-337 in Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn (Eds), Forest Restoration for Wildlife Conservation. International Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University, 440 pp.

บทคัดย่อ: ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของนกในการฟื้นตัวตามธรรมชาติสามารถนำมาใช้เพื่อเร่งกระบวนการและลดต้นทุนในการฟื้นฟูป่า วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อพิจารณาว่า: (1) ไม่ว่าจะเป็นคอนนกเทียม ที่วางในพื้นที่ต่างๆ ตามธรรมชาติและพื้นที่ที่มีการฟื้นฟูโดยมนุษย์ สามารถใช้เพื่อเพิ่มการสะสมเมล็ดและ (2) ลักษณะของพืชพรรณในท้องถิ่นที่มีผลต่อการเข้ามาของนกที่ทำหน้าที่กระจายเมล็ด โดยได้ทำการตรวจสอบเมล็ดที่กระจายเข้ามาภายใต้คอนนกในพื้นที่ 6 แปลง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน 2 แห่งในภาคเหนือของประเทศไทย พื้นที่แรกประกอบด้วยแปลงที่มีการฟื้นตัวตามธรรมชาติ จำนวน 3 แปลง ลักษณะของพื้นที่เริ่มตั้งแต่เกือบไม่มีต้นไม้และมีหญ้าปกคลุมจนถึง > 25% เป็นไม้พุ่ม พื้นที่ที่สอง จำนวน 3 แปลง ซึ่งเป็นพื้นที่ฟื้นฟูที่มีการทดลองอายุหนึ่งปี ความหลากชนิดและความหนาแน่นของเมล็ดที่ถูกกระจายโดยนกภายใต้คอนเทียมของทั้งสองพื้นที่สูงกว่าจุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากเจ็ดเดือน เมล็ดที่กระจายเข้ามาภายใต้คอนเทียมมากที่สุดในแปลงฟื้นฟูที่มีต้นไม้ผล 2 ชนิด คือ ต้นไข่ปลา (Debregeasia longifolia) และ ต้นปิ้งขาว (Clerodendrum glandulosum) ซึ่งเป็นชนิดที่มีนกเข้ามาอย่างน้อย 5 ชนิด อย่างไรก็ตามค่ามัธยฐานของเมล็ดที่ถูกกระจายโดยนกมีค่าสูงอย่างมีนัยสำคัญในแปลงที่มีการฟื้นตัวตามธรรมชาติทั้งสามแปลง (13.5 ต่อ 0 เมล็ด/กับดัก) ความหลากชนิดโดยรวมของนกที่เข้ามาเกาะคอนมีค่าสูงในแปลงฟื้นฟูตามธรรมชาติเช่นกัน (15 ต่อ 8 ชนิด) แม้ว่าจะไม่ได้มีการวัดตัวแปรทางด้านภูมิทัศน์ แต่แปลงที่มีการฟื้นตัวตามธรรมชาติทุกแปลงใกล้กับพื้นที่ป่าธรรมชาติมากกว่าเมื่อเทียบกับแปลงฟื้นฟู ผลการศึกษาเบื้องต้นของเราชี้ให้เห็นว่าคอนเป็นวิธีการที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มการสะสมของเมล็ดที่มีการกระจายโดยนก หลักฐานแวดล้อมของเรายังชี้ให้เห็นว่าในกรณีที่ไม่มีป่าในบริเวณใกล้เคียง การมีอยู่และลักษณะเฉพาะของไม้ผลที่ใช้ในการปลูกฟื้นฟู จะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถของพื้นที่ปลูกในการดึงดูดนกผู้ทำหน้าที่กระจายเมล็ด

For the complete volume please click here.