FORRU
ห้องสมุด

การเพาะเลี้ยงพรรณไม้ท้องถิ่นสำหรับการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Language:
Propagation of native forest tree species for forest restoration in northern Thailand
Date:
2002
Author(s):
Vongkamjan, S., S. Elliott, V. Anusarnsunthorn & J. F. Maxwell
Publisher:
Taiwan Forestry Research Institute, Taipei
Editor(s):
Chien, C. & R. Rose
Serial Number:
32
Suggested Citation:

Vongkamjan, S., S. Elliott, V. Anusarnsunthorn & J. F. Maxwell, 2002. Propagation of native forest tree species for forest restoration in northern Thailand. Pp. 175-183 in Chien, C. & R. Rose (Eds.). The Art and Practice of Conservation Planting. Extension Series no. 145 of the Taiwan Forestry Research Institute, Taipei

 

  

บทคัดย่อ: ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ เนื่องจากการตัดไม้และทำเกษตรกรรม ทำให้ส่งผลให้ทรัพยากรดิน น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพค่อยๆหมดไป เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU-CMU)  มีการวิจัยเพื่อศึกษาวิธีเร่งการฟื้นตัวของป่าในพื้นที่เสื่อมโทรม ทั้งนี้ยังมีพันธุ์ไม้หลายชนิดที่หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่ายังไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ รายงานการวิจัยนี้อธิบายถึงความพยายามในการขยายพันธุ์ไม้ท้องถิ่น18 ชนิดที่มี ศักยภาพในการฟื้นฟูป่า  อัตราการงอกของเมล็ดในเรือนเพาะชำมีค่าสูงกว่างอกเองตามธรรมชาติ  อัตราการงอกของเมล็ดในที่ร่มรำไรสูงกว่าในที่ไม่มีแสง ยกเว้น โมลีสยาม (Reevesia pubescens)  หม่อนหลวง (Morus macroura) และกำลังเสือโคร่ง (Betula alnoides) การปรับสภาพเมล็ด (อุณหภูมิ การทำลายเปลือกหุ้มเมล็ด ความเป็นกรด ฯลฯ) เป็นการกระตุ้นการงอกของเมล็ดทุกชนิด ยกเว้นเต็ง (Shorea obtusa) และต้นไข่ปลา (Debregeasia longifolia) มีการทดสอบทางเคมี และมีการตัดแต่งราก ทั้งนี้พบว่าใช้ IBA 3000 ppm มีประสิทธิภาพดีที่สุดในต้นไกร (Ficus superba)  Seradix #2 สำหรับ ส้านเห็บ (Saurauia roxburghii) และไม่มีการใช้เคมี (การทดลองควบคุม) สำหรับพังแหร (Trema orientalis)