FORRU
ห้องสมุด

ประสิทธิภาพของพรรณไม้ท้องถิ่น 6 ชนิด เพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทยและการตอบสนองของพรรณไม้ต่อการใส่ปุ๋ย

Language:
Performance of six native tree species, planted to restore degraded forestland in northern Thailand and their response to fertilizer
Date:
2000
Author(s):
Elliott, S., P. Navakitbumrung, S. Zangkum, C. Kuarak, J. Kerby, D. Blakesley & V. Anusarnsunthorn
Publisher:
International Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Editor(s):
Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
Serial Number:
29
ISBN:
ISBN 974-657-424-8
Suggested Citation:

Elliott, S., P. Navakitbumrung, S. Zangkum, C. Kuarak, J. Kerby, D. Blakesley & V. Anusarnsunthorn, 2000. Performance of six native tree species, planted to restore degraded forestland in northern Thailand and their response to fertiliser. Pp 244-255 in Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn (Eds), Forest Restoration for Wildlife Conservation. International Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University. 440 pp.

บทนำ: ศึกษาประสิทธิภาพของพรรณไม้ท้องถิ่น 6 ชนิด เพื่อการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำที่เสื่อมโทรมในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ประเทศไทย และการตอบสนองของพรรณไม้ 4 ชนิดต่อการใส่ปุ๋ย สายพันธุ์ได้รับเลือกจากศักยภาพได้แก่ 1) กำจัดวัชพืชได้อย่างรวดเร็ว และ 2) เพิ่มความมากชนิดของพรรณไม้ด้วยการดึงดูดสัตว์ป่าที่กระจายเมล็ดพืช

พรรณไม้ทุกชนิดมีการเจริญเติบโตที่ดี ยกเว้น Gmelina arborea สำหรับดัชนีประสิทธิภาพสัมพัทธ์ประกอบด้วยอัตราการรอดชีวิตและอัตราการเติบโตสัมพัทธ์เท่ากับ 87.5 สำหรับ Erythrina subumbrans, 45.3 สำหรับ Melia toosendan, 36.9 สำหรับ Prunus cerasoides, 32.5 สำหรับ Sapindus rarak, 22.2 สำหรับ Hovenia dulcis และ 3.5 สำหรับ Gmelina arborea

การใส่ปุ๋ยจะให้ตอนปลูก และ 2 ครั้งในฤดูฝนปีแรกหลังปลูกทำให้ได้ประสิทธิภาพมากกว่าการใส่ปุ๋ยเฉพาะตอนปลูก แม้ว่าปริมาณปุ๋ยสูงสุด (200 กรัม หลังปลูกและสองครั้งในฤดูฝน) ส่งผลให้มีอัตราการเติบโตสูงสุด แต่ก็ลดการอยู่รอดของกล้าไม้ที่ปลูกด้วย สำหรับการเลือกผสมพรรณไม้ท้องถิ่น การให้ปุ๋ยที่แนะนำคือปุ๋ย 50-100 กรัม ใส่หลังจากปลูกทันที และอย่างน้อยสองครั้งในช่วงฤดูฝนแรก ซึ่งจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาว่าการใส่ปุ๋ยบ่อยขึ้นจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานต่อไปได้หรือไม่