FORRU
ห้องสมุด

พันธุ์ไม้ในอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลจังหวัดลำพูน-ลำปาง ประเทศไทย

Language:
The vegetation vegetation of Doi Khuntan National Park, Lamphun-Lampang Provinces, Thailand
Date:
1995
Author(s):
Maxwell, J.F., S. Elliott, P. Palee & V. Anusarnsunthorn
Publisher:
Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 43(2):185-205. The Siam Society.
Serial Number:
19
Suggested Citation:

Maxwell, J. F., S. Elliott, P. Palee & V. Anusarnsunthorn, 1995. The vegetation of Doi Khuntan National Park, Lamphun-Lampang Provinces, Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 43(2): 185-205.

  

หลังจากที่ร่วมงานในภาควิชาชีววิทยาเมื่อปีพ.ศ. 2535 อาจารย์แม็กซ์ได้ดำเนินโครงการรวบรวมชนิดพืชบนภูเขาหลายแห่งในภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อขยายฐานข้อมูลของหอพรรณไม้ (CMUB) และจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้ภาคเหนือของประเทศไทยในระบบคอมพิวเตอร์ (ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในขณะนั้น) นอกจากนี้ยังมีการแบ่งชนิดป่าเป็นประเภทต่างๆ ในตอนนั้นฟอรูพึ่งก่อตั้งขึ้น การศึกษาของอาจารย์แม็กมีประโยชน์ในการกำหนดเป้าหมายการฟื้นฟูและการตัดสินใจเลือกพรรณไม้ในการฟื้นฟูป่าด้วย  

 

งานวิจัยชิ้นนี้ได้นำเสนอผลการสำรวจดอยขุนตาล ประกอบด้วยฐานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลของพรรณไม้ องค์ประกอบของพรรณไม้ในป่า การศึกษาชีพลักษณ์ของพืช ทั้งนี้จะได้ศึกษาภาพรวมของอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลในช่วงปลายศตวรรตที่ 20 นอกจากนั้นยังมีการศึกษาที่คล้ายคลึงกันในอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน  สามารถคลิกได้เลย

บทคัดย่อ:  อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 เพื่อปกป้องผืนป่าขนาด 255 ตารางกิโลเมตรในจังหวัดลำปางและลำพูน ซึ่งมีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์น้อยมากนับตั้งแต่ก่อตั้งอุทยานแห่งนี้ขึ้น ยังไม่มีการสำรวจพืชพรรณอย่างเป็นระบบถึงแม้ว่าจะมีการเตรียมการด้านการจัดการ แต่ก็ยังขาดข้อมูลในส่วนของพรรณไม้ มีผลให้ไม่ทราบถึงวิธีการและชนิดพรรณไม้ที่ใช้ในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในบริเวณที่โดนทำลาย (ซึ่งครอบคลุมเป็นบริเวณกว้างของอุทยานฯ)  นอกจากนั้นยังมีปัญหาการเก็บพรรณไม้เชิงพาณิชย์เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้และเฟิร์น ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวอาจจะคุกคามต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด แต่เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนทำให้ยากต่อการจัดการ ในการสำรวจพืชที่มีท่อลำเลียงในอุทยานดอยขุนตาล เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2538 ได้มีการเก็บตัวอย่างพรรณไม้และนำไปเก็บไว้ที่หอพรรณไม้ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ข้อมูลอนุกรมวิธานและนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดได้จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไป

บริเวณเชิงเขาในอุทยาน ประกอบด้วยป่าผลัดใบ (ส่วนใหญ่เป็นป่าสัก) ที่เคยถูกถางและทำเป็นที่เพาะปลูก หรือเป็นพื้นที่เสื่อมโทรมอย่างรุนแรงเป็นเวลาเกือบศตวรรษ ป่าผลัดใบแบบทุติยภูมิจะอยู่ในรูปแบบป่าผลัดใบชนิดป่าผลัดใบผสมก่อซึ่งเป็นชนิดป่าที่พบอยู่ทั่วไป ส่วนป่าที่เสื่อมโทรมมากจะเปลี่ยนเป็นป่าไผ่ ป่าผสมไม่ผลัดใบจะพบในระดับความสูง 850-1000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ถัดขึ้นไปจากป่านี้จะพบป่าดิบเขาผสมสนซึ่งพบได้น้อยมากเนื่องจากการรบกวนของมนุษย์ ในอุทยานฯจะมีไฟป่าเกิดขึ้นเสมอ ภูมิอากาศเป็นไปตามฤดูกาล และมีช่วงแล้งในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ในการสำรวจครั้งนี้พบพรรณไม้ที่มีท่อลำเลียงอย่างน้อย 165 วงศ์จำนวน1285 ชนิด และพบพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ 4 ชนิด