FORRU
Library

ทฤษฎีเบื้องหลังการฟื้นฟู

ทฤษฏีเบื้อหลังการฟื้นฟู
Date:
2023-10
Author(s):
พนิตนาถ แชนนอน
Publisher:
FORRU-CMU
Serial Number:
280
ISBN:
978-616398-882-9
Suggested Citation:

เดีย พนิตนาถ แชนนอน, 2566. ทฤษฎีเบื้องหลังการฟื้นฟู. หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย. 

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเนื้อหาครอบคลุมถึงการรบกวนที่ส่งผลต่อกระบวนการฟื้นตัวของธรรมชาติ ทำให้มวลชีวภาพลดลงและสภาพดินเปลี่ยนแปลงไป สมดุลระหว่างอัตราการรบกวนและอัตราการฟื้นตัวเป็นตัวกำหนดองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตในสังคมพืช การรบกวนจะส่งผลต่อประเภทของการเปลี่ยนแปลงแทนที่และวิถีการเข้ามาของพืช อย่างที่ทราบกันดีว่าการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของป่าเขตร้อนมาจากผลทางตรงและทางอ้อมของกิจกรรมมนุษย์ ผลที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดเฉพาะกับสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นเท่านั้น แต่สามารถส่งผลต่อการรอดชีวิตหรือการทำงานของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในระบบนิเวศ และนำไปสู่การลดลงของความสามารถในการให้บริการของระบบนิเวศ ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีแนวทางการคัดเลือกวิธีการฟื้นฟูที่เหมาะสมโดยขึ้นกับการประเมินความเสื่อมโทรมของพื้นที่และเป้าหมายการฟื้นฟู การมีเป้าหมายของการฟื้นฟูที่ชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับเเรก มุมมองด้านสังคมของการฟื้นฟู การติดตามผล การประเมิลผลโครงการฟื้นฟูเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อการฟื้นฟู เพื่อแสดงถึงผลที่เกิดขึ้นและเพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิผล อีกทั้งยังรวมไปถึงการรุกรานทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2 เรื่องนี้เป็นความท้าทายระดับโลกในปัจจุบันที่ไม่สารถข้ามได้ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานส่งผลกระทบในหลายลำดับขั้นทางนิเวศวิทยา และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าได้รับความสนใจอย่างมากเนื่องจากป่าเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนขนาดใหญ่ ตัวบ่งชี้อัตราการปลดปล่อยคาร์บอนจากป่าคือประเภทและความรุนแรงของการรบกวนที่ส่งผลต่อปริมาณของคาร์บอนที่ป่าเก็บได้และปล่อยออกไปสู่ชั้นบรรยากาศเมื่อเกิดการทำลาย ดังนั้นงานด้านการอนุรักษ์และการฟื้นฟูเชิงนิเวศจำเป็นต้องวางแผนให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลจากมนุษย์ในบริบทของสภาพภูมิอากาศทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก สุดท้ายนี้การฟื้นฟูเชิงนิเวศจะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเป้าหมายแห่งการพัฒนาสู่อนาคตโลกที่ยั่งยืนต่อไป